top of page

เมื่อสถานการณ์ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยต้องปรับตัวอย่างไร

อัปเดตเมื่อ 14 มี.ค. 2565



ในสถานการณ์ที่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ราคาของต้นทุน วัตถุดิบมีการปรับราคาขึ้นกันอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อทุกคนไล่ตั้งแต่ผู้บริโภค พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงผู้ประกอบการ SMEs ที่ต่างต้องเจอกับสภาวะเศรษฐกิจที่เข้าขั้นวิกฤต ทำให้ทุกฝ่ายต้องเร่งปรับตัว พร้อมหาวิธีรับมือกับสถานการณ์เงินเฟ้อได้ทันเวลา


เรามาเริ่มที่นิยามของ ‘เงินเฟ้อ’ กันก่อน ‘เฟินเฟ้อ’ หรือ inflation หมายถึงสภาวะที่ราคาของสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าเงินเฟ้อส่งผลกระทบในแทบทุกด้านของชีวิตของผู้ประกอบการของธุรกิจทุกรูปแบบ เพราะในภาวะที่ราคาสินค้า วัตถุดิบสูงขึ้น แต่กำลังในการซื้อ การผลิตมีเท่าเดิม ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้ที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว ผู้ประกอบการ SMEs ก็มีแนวโน้มในการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งทีนี้ก็ต้องมาดูต่อว่า เงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านใดบ้าง หากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการเลือกซื้อสินค้า หรือใช้บริการมากขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs เช่น รายได้มีแนวโน้มลดลง จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สภาพคล่องทางการเงินหดตัวลง สำหรับ SMEs ที่มีสภาพคล่องต่ำ อาจไปถึงขั้นปิดกิจการ


แต่เงินเฟ้อไม่ได้ส่งผลต่อต้นทุนของ SMEs แต่เพียงเท่านั้น SMEs ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ดังนี้



เงินเฟ้อส่งผลต่อธุรกิจ SMEs อย่างไร


• ต้นทุนสินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น

เมื่อราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น แต่อำนาจในการซื้อวัตถุดิบกลับลดลง ก็จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีสภาพคล่องทางการเงินที่สูง อาจจะต้องตัดสินใจชะลอการผลิต หรือหาแนวทางลดต้นทุนโดยลดคุณภาพของวัตถุดิบลง


• ต้นทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น

ต้นทุนการจ้างงาน และต้นทุนการผลิตมักเพิ่มขึ้นควบคู่กัน ซึ่งหากผู้ประกอบการเลือกเพิ่มต้นทุนอย่างใดอย่างหนึ่งให้สูงขึ้น อย่างการขึ้นเงินเดือน ก็อาจส่งผลต่อผู้บริโภคโดยรวมที่อาจได้รับคุณภาพของสินค้าที่ลดน้อยลง และสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด


• การผลิตและการส่งออก

เพราะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันธุรกิจส่งออกกับประเทศอื่นก็ลดลงตามไป


อย่างไรก็ตามทุกปัญหาย่อมมีทางออก แสงสว่างของผู้ประกอบการ SMEs ในสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อก็ยังคงมีเช่นกัน โดยผู้ประกอบการควรมีวิธี หรือแนวทางในการปรับ พร้อมตั้งรับกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น



ธุรกิจ SMEs ควรปรับตัวอย่างไรเมื่อเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ


• วางแผนลดต้นทุนการผลิต เพื่อยังคงมีโอกาสในการส่งออก-นำเข้าสินค้า

เมื่อรู้ว่าราคาสินค้า วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ผู้ประกอบการควรวางแผนกลยุทธ์กันใหม่ เพื่อหาช่องทางในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อไม่ให้สูญเสียในเรื่องทางการตลาด และโอกาสในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ


• เปิดโอกาสสร้างคอนเนคชัน

คอนเนคชันจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เพราะผู้ประกอบการจะมีพาร์ทเนอร์คอยช่วยเหลือ ซัพพอร์ตในช่วงวิกฤต


• หาแหล่งกระแสเงินสดที่น่าเชื่อถือ

Cash Flow เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ เพื่อให้มีเงินสดมาหมุนเวียนธุรกิจ แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการ SMEs อาจจะต้องหาตัวช่วยเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้



คุณมีนา อิงค์ธเนศ

CXO, Business Online PCL.

ดู 245 ครั้ง
bottom of page