top of page

วิธีแยกแยะระหว่าง "ขายตรง" กับ "แชร์ลูกโซ่" รู้ทันก่อนเป็นเหยื่อหลอกลงทุน


ธุรกิจ “แชร์ลูกโซ่” (Pyramid Scheme) เป็นระบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมากว่าร้อยปี เป็นวิธีที่ใช้หลอกเอาเงินจากกระเป๋าคนมาช้านาน ไม่ได้มีแต่คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อ แต่ต้องบอกว่าระบาดไปทั่วโลก และจนถึงบัดนี้ก็ยังฆ่าไม่ตาย แม้จะโดนกวาดล้างไปกี่ราย แชร์ลูกโซ่ก็ยังเกิดใหม่ได้เหมือนเชื้อไวรัส แค่เปลี่ยนชื่อและรูปแบบที่ใช้บังหน้าไปเรื่อย ๆ เท่านั้น เคสที่โด่งดังในไทยก็แชร์น้ำมันแม่ชม้อย แชร์ทองคำ แชร์ชาร์เตอร์ ความเสียหายมีตั้งแต่หลักสิบล้านไปจนถึงหลายพันล้านบาท และแม้ว่าจะจับตัวการมาดำเนินคดีได้ ก็ใช่ว่าเหยื่อจะได้เงินคืนทั้งหมด


แชร์ลูกโซ่ คืออะไร

แชร์ลูกโซ่ คือการหลอกลวงระดุมเงินทุนจากประชาชน โดยหลอกว่าจะนำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่มีอนาคตดี กำไรงาม การันตีผลตอบแทนสูง ๆ และนำเงินจากสมาชิกรายใหม่มาจ่ายให้รายเก่า จนเมื่อหมุนเงินไม่ไหว ก็จะปิดบริษัทหลบหนีไป หลายครั้งแฝงตัวในรูปแบบธุรกิจขายตรงหน้าใหม่


แชร์ลูกโซ่ส่วนมาก มักแอบอ้างตัวว่าเป็นธุรกิจขายตรง (MLM) สเต็ปที่พบบ่อยคือ:


  1. สร้าง (หรืออุปโลกน์) สินค้าหรือบริการอะไรขึ้นมาสักอย่าง เป็นของที่ไม่มีขายตามห้างร้านทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สมุนไพร เครื่องประดับ ปุ๋ย แพ็กเกจทัวร์ ฯลฯ

  2. โน้มน้าวให้เหยื่อเชื่อว่าสินค้านั้นดีมาก คุณสมบัติวิเศษ ขายง่ายขายดี ถ้ามาร่วมลงทุนจะได้กำไรงามแน่นอน

  3. แสดงให้เหยื่อเห็นว่ามีสมาชิกประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย

  4. ยกตัวอย่างสมาชิกที่ดูน่าเชื่อถือ เช่น หมอ ข้าราชการ วิศวกร ชาวต่างชาติ ฯลฯ

  5. ชวนให้มาสมัครเป็นตัวแทนขายหรือสมาชิก โดยเรียกเก็บค่าแรกเข้าจำนวนมาก

  6. เสนอผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย บวกกับค่าหัวคิวจากการหาลูกข่ายมาร่วมลงทุนเพิ่ม โดยส่วนมากจะเน้นไปที่อย่างหลัง พูดโน้มน้าวให้เห็นว่าค่าตอบแทนจากการหาลูกข่ายนั้นได้ง่ายและได้มากกว่าการขายสินค้า ปลุกใจให้คนหาดาวน์ไลน์มากกว่าขายของจริง ๆ

  7. ในที่ลงทุนทำแรก ๆ อาจจะได้เงินจริิง ซึ่งเป็นเงินจากค่าสมาชิกหน้าใหม่หมุนมาจ่ายให้สมาชิกเก่า ทำให้เหยื่อหลงเชื่อว่าไม่ได้ถูกหลอก กล้าที่จะลงทุนเพิ่ม จ่ายเงินกักตุนสินค้า และมีน้ำหนักในการชักชวนคนอื่นมาเข้าร่วมต่อไป

  8. เมื่อรวบรวมเงินลงทุนจากเหยื่อได้มากพอ เงินหมุนเริ่มฝืด หรือเริ่มมีคนระแคะระคาย เจ้าของธุรกิจก็มักจะค่อย ๆ จ่ายเงินล่าช้าลง

  9. ปิดบริษัทหนีหายไปพร้อมเงินก้อนใหญ่ ซึ่งส่วนมากกว่าสมาชิกจะรู้ตัวว่าโดนหลอกก็มักจะล่วงเลยมาถึงขั้นนี้แล้ว

วิธีการแยกแยะระหว่าง “ขายตรง” กับ “แชร์ลูกโซ่”


ธุรกิจขายตรง

  • บริษัทมีหลักแหล่ง มีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้

  • มีค่าธรรมเนียมในการสมัครสมาชิกเริ่มต้นไม่สูงนัก

  • เน้นให้สมาชิกเอาสินค้าไปขายให้ลูกค้ามากกว่าชวนมาเข้าร่วม

  • รายได้และตำแหน่งของสมาชิกมาจากการขายสินค้า ไม่ใช่การหาลูกข่ายเพิ่ม

  • รายได้หลักของบริษัทมาจากค่าสมาชิกมากกว่ายอดขายสินค้า

  • สินค้ามีคุณภาพจริง ไม่อวดอ้างสรรพคุณเท็จ ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบ

  • มีการรับประกันสินค้า มีบริการหลังการขาย มีนโยบายรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้

  • มีกฎระเบียบเข้มงวดที่สมาชิกต้องปฏิบัติตาม

ธุรกิจแชร์ลูกโซ่

  • บริษัทไม่มีหลักแหล่งชัดเจน ตรวจสอบยาก อาจมีการแอบอ้างว่ามีหลักมีฐานอยู่ต่างประเทศ แต่ในไทยกลับไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ หรือในบางรายอาจมีการจดทะเบียนเป็นธุรกิจขายตรง แต่ในทางปฏิบัติกลับขัดต่อกฎหมาย

  • มักเรียกเก็บค่าสมาชิกเริ่มแรกสูง ๆ ตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสนบาท โน้มน้าวให้เหยื่อเชื่อว่าอนาคตจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่าแน่นอน

  • แม้จะมีสินค้าอยู่ แต่กลับเน้นให้สมาชิกชวนมาเข้าร่วมเยอะ ๆ แทนที่จะเอาสินค้าไปขาย อาจมีการจัด Training สอนวิธีชักชวนสมาชิกใหม่ด้วยเทคนิคต่าง ๆ

  • ผลตอบแทนและการเลื่อนตำแหน่งของสมาชิกขึ้นอยู่กับจำนวนลูกข่ายที่หาได้ ไม่ใช่ยอดขายสินค้า

  • รายได้หลักของบริษัทมาจากค่าสมัครสมาชิกมากกว่ายอดขายสินค้า

  • สินค้าไม่มีอยู่จริง หรือไม่มีคุณภาพ โฆษณาเกินจริง ไม่มีการรับรองที่น่าเชื่อถือ

  • ไม่มีนโยบายรับประกันสินค้าหรือบริการหลังการขายใด ๆ ทั้งสิ้น

  • สมาชิกทำงานกันอย่างไร้ระเบียบ ต่างคนต่างใช้ทุกทางเพื่อชวนคนมาเข้าร่วมให้ได้ โดยไม่คำนึงถึงมารยาทหรือข้อเท็จจริง

ก่อนจะลงทุนในธุรกิจใด ๆ ก็ตาม อย่ารีบตัดสินใจ ต้องหาข้อมูลให้รอบด้านก่อน ควรมองโลกในแง่ร้ายเอาไว้บ้าง อย่าสนใจแต่ตัวเลขผลตอบแทน ยิ่งถ้าผลตอบแทนสูงลิ่วจนน่าแปลกนี่ยิ่งต้องระวัง โดยเฉพาะธุรกิจแชร์ลูกโซ่นี้ ถ้าพลาดเป็นเหยื่อ นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังเสียชื่อ เสียศักดิ์ศรี เสียอารมณ์ แถมอาจได้เสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลด้วย ควรรู้ทันไว้ก่อนจะเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นดีที่สุด


ถ้าสงสัยว่าธุรกิจไหนเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ สามารถสอบโทรสอบถามศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค (ศคบ.) ได้ที่เบอร์ 1166 หรือเช็คข้อมูลกิจการในเบื้องต้นด้วยตัวเอง ผ่านแอปพลิเคชั่น MatchLink เข้าถึงฐานข้อมูลได้ทุกธุรกิจทั่วไทย ดูงบการเงิน พร้อม Features ดี ๆ ที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด


👨 เข้าถึงลูกค้าและพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ ได้มหาศาล

📊 ดูงบการเงินของทุกธุรกิจทั่วไทย

📇 สร้าง Digital Name Card

🤝 สร้างคอนเนคชันทางธุรกิจได้ง่ายๆ

📌 อัพเดทเคล็ดลับสำหรับเจ้าของธุรกิจ ด้วยแอปพลิเคชัน MatchLink แอปดีๆ ที่ผู้ประกอบการ 4.0 ห้ามพลาด


ดาวน์โหลดฟรีได้แล้ววันนี้

iOS >>> http://bit.ly/IosDownloadMatchLink

Android >>> http://bit.ly/AndroidDownloadMatchLink

ดู 2,044 ครั้ง
bottom of page