top of page

เหตุผลยอดฮิตที่ทำให้ Startup ในไทยล้มเหลว


ในช่วงหลายปีมานี้ กระแสธุรกิจสตาร์ทอัพได้เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในไทย ที่มีนักธุรกิจหน้าใหม่ก้าวเข้าสู่วงการสตาร์ทอัพกันมากมาย นำเสนอสินค้าและบริการแปลกใหม่ให้ผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตาม มีหลายรายที่ต้องจบลงด้วยความล้มเหลวในเวลาไม่กี่ปี อะไรคือสาเหตุที่ทำให้สตาร์ทอัพเหล่านี้ต้องปิดตัวลง


● ขายของที่ไม่มีใครต้องการ

สาเหตุยอดนิยมอันดับหนึ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพไปไม่ถึงฝัน หรือบางทีก็ไปไม่ถึงไหนเลยด้วยซ้ำ ก็คือการขายของที่ไม่มีใครอยากได้ ถึงแม้ไอเดียของพวกเขาจะสดใหม่ แปลก และแตกต่างมากแค่ไหน แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะเป็นประโยชน์เสมอไป หรือบางครั้งไอเดียอาจฟังดูดี แต่ถึงเวลาใช้งานจริงอาจจะไม่ได้ผลตามที่ผู้บริโภคคาดหวัง แบบนี้ก็เป็นอันต้องพับเก็บไปในเวลาอันสั้น


● ขาดเงินทุนสนับสนุน

ถึงแม้ไอเดียสตาร์ทอัพจะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีเงินทุนมาเริ่มต้นหรือต่อยอดกิจการ ก็ยากจะสำเร็จได้ ส่วนมากสตาร์ทอัพจะดำเนินการขอสินเชื่อจากธนาคารได้ยากกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะความแปลกใหม่ของสินค้าหรือบริการทำให้เจ้าของเงินทุนมองว่าเป็นโปรเจ็กต์ที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเลยต้องระดมทุนจากแหล่งอื่นแทน เช่น Venture Capitalist หรือ Crowd Funding หากแผนธุรกิจไม่ดึงดูดพอที่จะซื้อใจนักลงทุนอิสระเหล่านี้ โปรเจ็กต์ก็เดินหน้าต่อได้ยาก


● มุ่งหวังระดมทุนอย่างเดียว

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว ด้วยความที่เงินทุนสนับสนุนมีความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพมาก ผู้ประกอบการบางรายจึงมุ่งเอาแต่จะระดมทุนอย่างเดียว ทุ่มเงินไปกับการสรัางภาพลักษณ์ โชว์ตัวตามสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยไม่ใส่ใจพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีพอ แบบนี้ถึงจะได้อยู่รอดได้ในช่วงแรก ๆ ด้วยเงินจากนักทุน แต่ไม่นานความจริงก็จะปรากฏ และธุรกิจก็ต้องจบลง


● ลงทุนไม่ถูกที่

สตาร์ทอัพบางรายเอาเงินของนักลงทุนไปทุ่มพัฒนาสินค้าอย่างเดียว แต่ไม่ลงทุนด้านการตลาด ทำให้สินค้าขายยาก บางรายเอาเงินส่วนมากไปจ่ายค่าโฆษณา แต่ละเลยที่จะทำสินค้าให้ดี หรือบางรายก็เอาเงินไปจ่ายกับค่าสวัสดิการพนักงาน ออฟฟิศหรูหรา งานปาร์ตี้ แต่ไม่สร้างรายได้อะไรกลับมา ไม่นานเมื่อเงินทุนร่อยหรอก็ต้องปิดตัวลง


● โดนปลาใหญ่กิน

มีสตาร์ทอัพหลายรายที่ไอเดียธุรกิจดีเสียจนผู้ประกอบการรายใหญ่เล็งเห็นโอกาส หยิบเอาไอเดียไปทำเองซะอย่างนั้น และด้วยความที่ทุนหนากว่า เครือข่ายกว้าง บุคลากรครบครันอยู่แล้ว ผู้ประกอบการรายใหญ่เลยมักจะเอาชนะสตาร์พอัพดั้งเดิมได้ไม่ยาก ถ้าสตาร์ทอัพรายนั้นไม่สามารถสร้างจุดเด่นเฉพาะของตัวเองได้ดีพอ ก็เสี่ยงมากที่จะต้องพ่ายแพ้ให้กับเจ้าใหญ่ที่มาที่หลังแต่ดังกว่า


ไม่มีใครอยากเห็นธุรกิจที่ตัวเองสร้างต้องกลายเป็นความล้มเหลว ไม่ว่าจะสตาร์ทอัพหรือ SME ก็ตาม การสร้างสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้จริง บริหารเงินทุนอย่างชาญฉลาด การรวบรวมบุคลากร และการปรับตัวให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน จึงเป็นภารกิจที่เจ้าของกิจการต้องทำให้ได้ เพื่อให้ธุรกิจเปิดใหม่ได้ก้าวไปต่ออย่างมั่นคง


ดาวน์โหลดแอพ MatchLink ฟรี หาพาร์ทเนอร์ ลูกค้า และเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ ได้แล้ววันนี้

iOS >>> http://bit.ly/IosDownloadMatchLink

Android >>> http://bit.ly/AndroidDownloadMatchLink

ดู 616 ครั้ง

Comentários


bottom of page