top of page

เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นทุนแพง ผู้ประกอบการควรบริหารรายจ่ายในธุรกิจอย่างไรให้รอด



SMEs นับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นกำลังหลักสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในหลายภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ SMEs ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และประคองให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ แต่ยิ่งนานวันต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะวัตถุดิบ เครื่องมือเครื่องใช้ยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ราคาสินค้ามีการปรับราคาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อต้นทุนแพง วัตถุดิบในการผลิตแพง ผู้ประกอบการ SMEs ต่างก็เริ่มมองหาแนวทางในการลดต้นทุน แต่ในการลดต้นทุนแต่ละครั้งก็ย่อมมีผลเสียระยะยาวที่เกิดขึ้นตามมา เพราะในบางภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเลือกลดต้นทุนโดยการลดปริมาณ คุณภาพของสินค้าการบริการ ลดจำนวนคน ลดเงินเดือน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แม้ว่าในช่วงแรกดูจะประหยัดรายจ่ายธุรกิจได้ แต่ระยะยาวคงไม่ดีแน่

ดังนั้นในกานทำธุรกิจในช่วงที่ต้นทุน วัตถุดิบแพง ผู้ประกอบการ SMEs ควรหาแนวทางใน “การบริหารต้นทุน” มากกว่า “การลดต้นทุน” เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้


การบริหารต้นทุน VS การลดต้นทุน ต่างกันอย่างไร


การบริหารต้นทุน คือการจัดการค่าใช้จ่ายให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงที่เกิดขึ้นน ไม่ว่าจะเงินเฟ้อ เงินฝืด หรืออื่น ๆ เพื่อให้กระแสเงินสดยังคงสามารถเดินหน้าทำธุรกิจต่อไปได้ โดยจะไม่มีการตัดเงินในเรื่องสินทรัพย์ วัตถุดิบ เครื่องใช้เครื่องมือใด ๆ ออกไป แต่จะเป็นการบริหารให้เกิดความยืดหยุ่น และยังคงประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด


การลดต้นทุน คือการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกไปให้ได้มากที่สุุด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ แต่การเลือกลดต้นทุน ลดรายจ่ายในการผลิตสินค้าและบริการ อาจจะส่งผลให้คุณภาพและปริมาณในการผลิตสินค้าลดลงตาม


สรุปโดยรวมความแตกต่างของการบริหารต้นทุน และการลดต้นทุน จะแตกต่างกันตรงที่ การบริหารต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการขยายศักยภาพในองค์กรให้มีความยืดหยุ่น แต่การลดต้นทุน จะเป็นการปรับในเรื่องของตัวเลขของต้นทุนวัตถุดิบ หรือต้นทุนแฝง ทำให้คุณภาพ ลดจำนวนคน ลดสินค้าการบริการ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาวอย่างแน่นอน


วิธีการบริการต้นทุนในช่วงที่วัตถุดิบแพงควรทำอย่างไร?


- เจรจากับ Supplier เพื่อทำข้อตกลงให้ได้ราคาวัตถุดิบที่ต่ำกว่าตลาด

ติดต่อเจรจาต่อรองกับคู่ค้าหรือ supplier ที่ทำธุรกิจร่วมกัน เพื่อทำข้อตกลงในการติดต่อซื้อสินค้าให้ได้ราคาวัตถุดิบที่ต่ำกว่าตลาด หรือได้ราคาส่วนลดโปรโมชัน เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า


- ซื้อวัตถุดิบด้วยการขอเครดิตเทอม

เครดิตเทอมจะช่วยให้สามารถบริหารต้นทุนธุรกิจได้ดีขึ้น เพราะการขอเครดิตเทอมเสมือนเป็นการยืดระยะเวลาในการชำระสินค้า ให้ธุรกิจสามารถหมุนกระแสเงินสดต่อไปได้ นับว่าเป็นการบริหารต้นทุนที่จะช่วยต่อลมหายใจให้กับธุรกิจได้อีกระยะหนึ่ง


- นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต

การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจ จะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจในระยะยาว และอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรในออฟฟิศ และช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้มากขึ้นด้วย


- มองหาช่องทางการขายที่มีต้นทุน 0 บาท

วิธีเซฟต้นทุนแต่ยังคงให้สินค้าและบริการมีประสิทธิภาพนั่นคือ การหาช่องทางการขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ ซึ่งการทำการตลาดออนไลน์จะช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย และลงตามความต้องการได้มากขึ้น และต้นทุนก็ต่ำด้วยเช่นกัน


หากผู้ประกอบการ SMEs มีการบริหารต้นทุน หรือรายจ่ายภายในธุรกิจได้เป็นอย่างดี ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ขอเป็นกำลังใจให้ ธุรกิจ SMEs ทั้งรายย่อย และรายใหญ่นะคะ


คุณมีนา อิงค์ธเนศ

CXO, Business Online PCL.

ดู 141 ครั้ง

Comments


bottom of page